วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

  ข้อมูล เรื่องราวของผลิตภัณฑ์ (Product Story)



ประชาสัมพันธ์

    มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมเปิดรับสมัครนักศึกษานอกเวลาราชการ  คลิกเพื่อรายละเอียด


หัตถกรรมโอ่งสามโคก เครื่องปั้นดินเผา และอิฐมอญนั้น แต่เดิมทำกันอย่างกว้างขวางในเมืองปทุมธานี ซึ่งเป็นส่วน
หนึ่งของประเพณี วัฒนธรรม และการสั่งสมทางภูมิปัญญาส่วนใหญ่ของชาวมอญ อันมีชื่อเสียงในอดีต แทบจะไม่มี
ใครเห็นแล้วในปัจจุบัน ด้วยวิถีชาวบ้านที่เปลี่ยนไป ความนิยมในเครื่องใช้ และภาชนะที่ทำจากเครื่องปั้นดินเผาลดลง 
ประกอบกับไม่มีผู้สืบทอดภูมิปัญญา และผู้เฒ่าผู้แก่ก็ได้ล้มหายตายจากกันไป จึงขาดผู้สืบสารตำนานสามโคก ต่อมา
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2543 คุณนิคม บางจริงได้พยายามหาลู่ทางในการประกอบอาชีพ โดยเลือกหาวัตถุดิบที่เป็นเอก
ลักษณ์ของท้องถิ่น จึงได้เลือกเครื่องปั้นดินเผาสามโคกมาเป็นวัตถุดิบหลัก   และได้ใช้เวลาในการคิดค้น และศึกษาอยู่
ประมาณ 7 เดือน เพื่อที่จะให้เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับดินเผา และเพื่อให้สินค้ากลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง และจาก
การที่ได้ไปเห็น "โอ่งเพ้นท์สี" ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าของ ของอย่างหนึ่ง และจากการได้เคยเห็น "เครื่องเบญจรงค์" 
จึงได้กลับมาคิดหาวิธีทำบ้าง แต่ปรับปรุงใหม่โดยใช้เศษผ้าไหมที่มีอยู่คิดทำประดิษฐ์ขึ้นมา เป็นโอ่งประดับด้วยผ้าไหม
และเนื่องจากชาวบ้านไม่มีความชำนาญในการวาดลวดลายไทย เหมือนการทำเครื่องเบญจรงค์ จึงได้นึกถึงผ้าไหม ซึ่ง
จะมีลวดลายในตัว และประมาณเดือนกันยายน 2544 ได้มีการจัดทำแผนประชารัฐ โดยการจัดให้มีการประชุมประชา
คมตำบลขึ้น คุณนิคม บางจริง ได้นำผลิตภัณฑ์ "ดินเผาทรงเครื่องเบญจสิริ" ตัวนี้ไปเข้ารับการจัดทำแผนประชารัฐด้วย
ที่ประชุมประชาคมตำบลคลองพระอุดม จึงได้มีมติรับขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ "ดินเผาทรงเครื่องเบญจสิริ" เป็นสินค้า
ประจำตำบลคลองพระอุดม และต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบ และลวดลายใหม่ๆ มีทั้งโอ่ง อ่าง แจกัน คณโฑ กรรณน้ำต้น
ไห หม้อยา โอ่งทิชชู โคมไฟตั้งพื้น โคมไฟหัวเตียง และรูปทรงอื่นๆ อีกมากมาย จนเป็นที่ยอมรับของตลาด ทั้งใน และ
ต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวต่างประเทศ จะรู้จักสินค้าภายใต้ชื่อ "Thai Silk Jar" ในปัจจุบันได้มีการผลิตสินค้าเพื่อ
ส่งไปจำหน่ายทั้งตลาดภายใน และส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยสินค้ามีรูปแบบให้เลือกมากกว่า 200 รูปแบบ มีลวด
ลายมากกว่า 100 ลาย และมีสีสรรมากกว่า 10 สี


PathumthaniPSO1L.jpg (52411 bytes)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น